วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


การบันทึกครั้งที่ 18วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


สอบปลายภาค

การบันทึกครั้งที่ 17
วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.



สอบปลายภาค

การบันทึกครั้งที่ 16วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่อง Picture Exchange Communication System (PECS)


บทบาทครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
  1.ทักษะทางสังคม
         - เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
         - การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข 
  • กิจกรรมการเล่น
  • ยุทธศาสตร์การสอน
  • การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
2.ทักษะทางภาษา
  • การวัดความสามารถทางภาษา
  • การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ 
  • ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
  • พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกขแงเด็ก
  • ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การสอนตามเหตุการณ์
3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  - เรียนรู้การดำรงชีวิตโดนอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
  • การสร้างความอิสระ
  • ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • หัดให้เด็กทำเอง
  • จะช่วยเมื่อไหร่
  • ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
  • ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • การเข้าส้วม
4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
  • เป้าหมาย
  • ช่วงความสนใจ
  • การเลียนแบบ
  • การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • ความจำ
  • การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ







ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน แล้วให้ความร่วมมือกับอาจารย์เสมอ
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์




การบันทึกครั้งที่ 15วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากไปเข้าค่ายผู้กำกับลูกเสือ

การบันทึกครั้งที่ 14วันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดสงกรานต์


การบันทึกครั้งที่ 13วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน


การบันทึกครั้งที่ 12วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน

การบันทึกครั้งที่ 11วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

ในต้นชั่วโมงอาจารย์ได้แจกคะแนนสอบกลางภาคคืน




จากนั้นก็จะเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษโดยจะเรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)


1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
  • เกิดผลดีในระยะยาว 
  • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
  • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน


2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  • การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)


3. การบำบัดทางเลือก
  • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)


การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  • เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  • โปรแกรมปราศรัย

บทบาทของครู.
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน







ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ทำสื่อออกมาในรูปแบบน่าสนใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และชอบการสอนของอาจารย์ สนุกกับการเรียน


การบันทึกครั้งที่ 10วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560เวลาเรียน 08.30 -12.30 น.


ก่อนเรียนวันนี้ในต้นคาบมีการสอบกลางภาคก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง
  หลังจากนั้นก็เรียนเนื้อหาเรื่อง 
"รูปแบบการจัดการศึกษา"
  •  การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
   → เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโิกาศที่เหมาะสม

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) → การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปทำร่วมกัน

การเรียนร่วมบางเวลา(Integration) 
  •   การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโิกาศแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโณงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education) → การศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา เปิดโอกาศให้เด็กพิเศษ

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  •   ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับการเรียนรู้
  • "สอนได้"
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดข้อจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
  1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
  2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  3. ครูไม่ควรบอกพ่อม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  4. ครูทำอะไรบ้าง
  • สังเกตอย่างมีระบบ
  • การตรวจสอบ
     5.ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
  • การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
  • การบันทึกต่อเนื่อง
  • การบันทึกเป็นคำๆ
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • การตัดสินใจ

จากนั้นอาจารย์ได้ให้วาดรูปดอกบัวตามแบบที่อาจารย์เปิดให้ดูและให้เราสังเกตและเขียนว่าเราเห็นอะไรในภาพนั้น


และหลังจากนั้นอาจารย์ให้ดูวีดีโอเด็กพิเศษคนหนึ่งที่ไปออกรายการแสดงความสามารถเพื่อแลกกับของเล่น น้องได้แสดงขิมน้องจำเพลงได้ 30 เพลงและสามารถเล่นได้ทุกเพลง







ประเมินอาจารย์ : อาจาย์มีวิธีการสอนหลากหลาย คอยหาวีดีโอมาให้ดูถึงความสามรถของเด็กพิเศษ
ประเมินเพื่อน : เพือนทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์เสมอ
ประเมินตนเอง : สนุกกับการเรียน ทำกิจกรรมตามที่อาจารย์มอบหมาย

การบันทึกครั้งที่ 9วันศุกร์ที่  10 มีนาคม 2560เวลาเรียน 08.30 -12.30 น.


"เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์(Children with Behavioral and Emotional Disorders)"
  - มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
  - แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 
  - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
  - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
  - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   1.ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
   2.ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
   3.ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ                               1.ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)                                                                                       2.ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)                                                                 3.สมาธิสั้น (Attention Deficit)                                                                                                       4.การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)                                                                                           5.ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)                                                           6.ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง

สาเหตุ
  •  ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
  • ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 

   -  Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
   -  อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )
   -  
สมาธิสั้น (Attention Deficit )
 



เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
  - เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • ด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้เพื่อนออกไปแสดงพฤติกรรมเด็กพิเศษและดูวีดีโอเกี่ยวกับวิธีลดอาการเด็กสมาธิสั้น








ประเมินอาจารย์  : อาจารย์มีแนวการสอนที่หลากหลาย มีวีดีโอให้ศึกษา มีผลงานของเด็กที่เป็นโรคนี้
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์ตลอด
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจเรียน ตั้งใจดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาเปิดให้ดู



การบันทึกครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่  3 มีนาคม 2560
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
   "เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)"
  •          เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
  •          เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  •          ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LD
  •  ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  • กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)




3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)4. หลายๆ ด้านร่วมกัน

อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  •  แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  •  มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  •  เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  •  งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  •  การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  •  สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  •  เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  •  ทำงานช้า


"ออทิสติก (Autistic)"

  • หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
  • ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

                   "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

ลักษณะของเด็กออทิสติก 
  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

พฤติกรมการทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
 ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
 - การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
 - การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

ออทิสติกเทียม
 - ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
 - ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
 - ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
  กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
  - จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
  - กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
  - จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)

**หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับเด็กออทิสติก







ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุก มีตัวอย่างของคนที่เป็นออทิสติกมาให้ดู
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับอาจารย์เสมอ
ประเมินตนเอง :  มีพูดคุยกับเพื่อนขณะเรียนบ้าง ตั้งใจดูวีดีโอที่อาจารย์เอามาเปิดให้ดู
   

  

การบันทึกครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่  24 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


สอบกลางภาค


การบันทึกครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


       ในครั้งนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา หัวข้อการศึกษาแบบเรียนรวม
     
ช่วงเช้าจะเป็นการเข้าแถวหน้าเสาธงก่อนเข้าแถวจะให้เด็กๆเล่นตามอิสระ  เมื่อถึงเวลาให้เด็กๆออกมาเคารพธงชาติ ออกมาชักธงด้วยตัวเอง ออกไปแสดงความคิดเห็นและออกกำลังกายช่วงเช้า




  
 


  จากนั้นก็เป็นการพาเข้าห้องประชุมเพื่อพูดคุยถึงความเป็นมาของโรงเรียนเกษมพิทยา  
         การเรียนรวมมี 3 รูปแบบ 1.เรียนร่วมเต็มเวลา 2.เรียนร่วมบางเวลา 3.ห้องพิเศษ 
 - จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่มกันไปศึกษาตามห้องเรียนที่ได้กำหนด ดิฉันได้ห้อง อนุบาล 1/2 
เด็กพอเศษชื่อ น้องตะนอย อายุ 7 ปี



   จากที่ได้ไปศึกษาดูพฤติกรรมน้องตะนอย ภายนอกน้องดูเหมือนเด็กปกติทั่วไปน้องสามารถทำกิจกรรมแบบเด็กปกติได้หมด
  - น้องเป็นเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก สับสนกับคำสั่ง ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่จะมีปัญหาเรื่องการเข้าห้องน้ำ
  - น้องสามารถบอได้ว่าวาดรูปอะไร 
  - น้องสามารถเล่าเนื่อวราวที่วาดให้ครูเขียนได้
  - น้องติดป้ายชื่อได้ หยิบกระดาษทากาวได้
  - เมื่อครูสั่งให้ตบมือ 1 ครั้ง แต่น้องทำเกิน
  - น้องเข้ากับเพื่อนได้ดี 




     หลังจากสังเกตเสร็จป้าหนูก็ได้ถามถึงเด็กพิเศษของแต่ละห้องที่ได้ไปสังเกตมาว่า น้องเป็นอะไร พฤติกรรมน้องเป็นอย่าง อยู่ร่วมกับเพื่อนได้ไหม




ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มักจะจัดกิจกรรมนอกสถานที่เพื่อให้เราไปศึกษา เพื่อเห็นถึงสภาพจริง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี เรียบร้อย 
ประเมินตนเอง : สนุกได้ไสังเกตน้องที่เป็นเด็กพิเศษและสังเกตวิธีการสอนของพี่ๆปี 5

การบันทึกครั้งที่ 5วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

สัปดาห์นี้ได้ไปดูการประกวดมารยาทไทยของคณะศึกษาศาสตร์



การบันทึกครั้งที่ 4
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.


สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากิาจารย์ติดราชการ

วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 3วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
           ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
 4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children with Speech and Language Disorders)     
      เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียง
        1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสีย(Articulator Disorders) → เสียงบางส่วนขาดหาย ออกเสียงตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้อง เสียงเพี้ยน
        2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders) → พูดไมถูกตามลำดับขั้น เว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง พูดเร็วหรือช้าเกินไป จังหวะเสียงพูดปกติ เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง
        3.ความบกพร่องทางเสียงพูด (Voice Disorders) → ความบกพร่องของระดับเสียง คุณภาพเสียงไม่ดี เสียงดังหรือค่อยเกินไป

ความบกพร่องทางภาษา  หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดเออกมาเป็นถ้อยคำได้
        1.การพัฒนาทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) → มีความยากลำบากในการใช้ภาษา ไม่สามารถสร้างประโยคได้ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
        2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia  → อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง

 Gerstmann's syndrome
         👉 ไม่รู้ชื่อนิ้ว
         👉 ไม่รู้ซ้ายขวา
         👉 คำนวณไม่ได้
         👉 เขียนไม่ได้
         👉 อ่านไม่ออก





      
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) → อวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะหายไป เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีปัญหาทางระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
     โรคลมชัก (Epilepsy)
        1.ชักในช่วงเวลาสั้นๆ = ใช้เวลา 5-10 นาที เด็กจะหยุดชะงักก่อนชัก
        2.การชักแบบรุนแรง = เด็กจะส่งเสียง ล้มลง ใช้เวลา 2-5 นาที
        3.อาการชักแบบ Partial Complex = เหม่อนิ่ง รู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้ ไม่ตอบสนอง มีอาการไม่เกิน 3 นาที
        4.อาการไม่รู้สึกตัว = ระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว ทำอะไรโดยไม่รู้ตัว
        5.ลมบ้าหมู =  ชักแล้วหมดสติ ขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

 ซี.พี. (Cerebral Palsy)  → เกิดจากระบบสมองพิการ แต่ไม่มีผลต่อสติปัญญา
     1.กลุ่มแข็งเกร็ง = อัมพาตครึ่งซีก อัมพาคครึ่งท่อนบน อัมพาตครึ่งท่อนล่าง อัมพาตทั้งตัว
     2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
     3.กลุ่มอาการแบบผสม
           - กล้ามเนื้ออ่อนแรง
           - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
   อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปสาธิตท่าทางของกลุ่มอาการชักต่างๆ

 



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกมีรูปภาพตัวอย่างของอาการต่างๆมาให้ดู และให้เพื่อนออกมาสาธิตให้ดูเพื่อความสมจริง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน เมื่ออาจารย์ให้ออกไปสาธิตทุกคนก็ยินดีที่จะออก
ประเมินตนเอง : ปริ้นเนื้อหาการเรียนมาเรียน จดเนื้อหาบางส่วนเพิ่มเติม