วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 3วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
           ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
 4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children with Speech and Language Disorders)     
      เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียง
        1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสีย(Articulator Disorders) → เสียงบางส่วนขาดหาย ออกเสียงตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้อง เสียงเพี้ยน
        2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders) → พูดไมถูกตามลำดับขั้น เว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง พูดเร็วหรือช้าเกินไป จังหวะเสียงพูดปกติ เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง
        3.ความบกพร่องทางเสียงพูด (Voice Disorders) → ความบกพร่องของระดับเสียง คุณภาพเสียงไม่ดี เสียงดังหรือค่อยเกินไป

ความบกพร่องทางภาษา  หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดเออกมาเป็นถ้อยคำได้
        1.การพัฒนาทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) → มีความยากลำบากในการใช้ภาษา ไม่สามารถสร้างประโยคได้ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
        2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia  → อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง

 Gerstmann's syndrome
         👉 ไม่รู้ชื่อนิ้ว
         👉 ไม่รู้ซ้ายขวา
         👉 คำนวณไม่ได้
         👉 เขียนไม่ได้
         👉 อ่านไม่ออก





      
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) → อวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะหายไป เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีปัญหาทางระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
     โรคลมชัก (Epilepsy)
        1.ชักในช่วงเวลาสั้นๆ = ใช้เวลา 5-10 นาที เด็กจะหยุดชะงักก่อนชัก
        2.การชักแบบรุนแรง = เด็กจะส่งเสียง ล้มลง ใช้เวลา 2-5 นาที
        3.อาการชักแบบ Partial Complex = เหม่อนิ่ง รู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้ ไม่ตอบสนอง มีอาการไม่เกิน 3 นาที
        4.อาการไม่รู้สึกตัว = ระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว ทำอะไรโดยไม่รู้ตัว
        5.ลมบ้าหมู =  ชักแล้วหมดสติ ขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

 ซี.พี. (Cerebral Palsy)  → เกิดจากระบบสมองพิการ แต่ไม่มีผลต่อสติปัญญา
     1.กลุ่มแข็งเกร็ง = อัมพาตครึ่งซีก อัมพาคครึ่งท่อนบน อัมพาตครึ่งท่อนล่าง อัมพาตทั้งตัว
     2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
     3.กลุ่มอาการแบบผสม
           - กล้ามเนื้ออ่อนแรง
           - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
   อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปสาธิตท่าทางของกลุ่มอาการชักต่างๆ

 



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกมีรูปภาพตัวอย่างของอาการต่างๆมาให้ดู และให้เพื่อนออกมาสาธิตให้ดูเพื่อความสมจริง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน เมื่ออาจารย์ให้ออกไปสาธิตทุกคนก็ยินดีที่จะออก
ประเมินตนเอง : ปริ้นเนื้อหาการเรียนมาเรียน จดเนื้อหาบางส่วนเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น